ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธแทบทุกคนน่าจะต้องมีพระพุทธรูปอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะคนไทยที่ซึมซับวิถีชีวิตตามแนวปฏิบัติที่นับถือกันมาช้านาน
เพราะพระพุทธรูปสำหรับคนไทยไม่ได้หมายถึงเฉพาะความงดงามของรูปสัญลักษณ์ปฏิมากร แต่ยังเปรียบเสมือนสิ่งที่ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจในการมุ่งทำความดีและใช้ชีวิตแนวทางที่เป็นสุขไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ต่อไปนี้เราจะไปทำความเข้าใจและเรียนรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสร้างพระพุทธปฏิมากรหรือพระพุทธรูป
ที่มาและความสำคัญของพระพุทธรูป
การสร้างพระพุทธรูปมีบันทึกที่อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดและความเชื่อที่ถ่ายทอดกันต่อๆ มา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลที่นับถือและศรัทธาได้มีรูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าเพื่อแสดงความรำลึกถึงพระพุทธองค์ ตลอดจนเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยจิตใจของผู้ที่ได้พบเห็น
โดยจากหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียนเมื่อปี พ.ศ.950 มีการบันทึกถึง การเสด็จของพระพุทธองค์ในการไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์สวรรค์พรรษาหนึ่ง ได้ทำให้พระเจ้าประเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล เกิดความรำลึกถึงพระพุทธองค์ จึงมีการตรัสให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ซึ่งประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ โดยจากบันทึกดังกล่าวก็เกิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเกิดความหลากหลายของพระพุทธปฏิมากร
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูป
การสร้างพระพุทธรูปมีบันทึกที่อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดและความเชื่อที่ถ่ายทอดกันต่อๆ มา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลที่นับถือและศรัทธาได้มีรูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าเพื่อแสดงความรำลึกถึงพระพุทธองค์ ตลอดจนเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยจิตใจของผู้ที่ได้พบเห็น
โดยจากหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียนเมื่อปี พ.ศ.950 มีการบันทึกถึง การเสด็จของพระพุทธองค์ในการไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์สวรรค์พรรษาหนึ่ง ได้ทำให้พระเจ้าประเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล เกิดความรำลึกถึงพระพุทธองค์ จึงมีการตรัสให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ซึ่งประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ โดยจากบันทึกดังกล่าวก็เกิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเกิดความหลากหลายของพระพุทธปฏิมากร
วิธีการสร้างพระพุทธรูป
การสร้างพระพุทธรูปในปัจจุบันมีการผสมผสานเครื่องมือและวัสดุเพื่อให้เกิดความคงทนและความสวยงาม ซึ่งยังคงไว้ด้วยรายละเอียดและหลักการสร้างอย่างลงตัว โดยรูปแบบในการสร้างส่วนใหญ่ที่หลายท่านน่าจะเคยพบเจอมีดังต่อไปนี้
- ดินเผา – ได้รับความนิยมในการนำดินเหนียวมาปั้นให้เกิดรูปแล้วนำไปเผาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พระพุทธรูป
- ศิลา - เป็นการนำหินทรายมาใช้ในการสร้าง เพราะมีข้อดีที่เนื้อละเอียดและสลักเป็นรูปได้ง่าย
- ไม้ – นิยมนำมาสร้างแกะสลักสร้างเป็นพระพุทธรูป เพราะข้อดีที่สามารถสร้างง่าย
- ทองสำริด - ถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีส่วนผสมของทองแดงกับดีบุก
- ปูนปั้น – ใช้เทคนิคการสร้างพระพุทธรูปด้วยปูน ซึ่งปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนทวารวดี